เมนู

ความที่สัมมาทิฏฐิเป็นสเหตุกะ ด้วยบทว่า มคฺเคน อุปฺปนฺนเหตุ ด้วยเหตุ
อันเกิดขึ้นด้วยมรรค ดังนี้.
บทว่า อธิปตึ กริตฺวา (กระทำมรรคให้เป็นอธิบดี) ได้แก่ กระทำ
ให้เป็นอารัมมณาธิบดี ธรรมที่มีอารมณ์เหล่านั้นแล เป็นปริตตธรรม.
เพราะว่า ในเวลาพระอริยสาวกทั้งหลายกระทำมรรคของตนให้หนักแล้วพิจารณา
ย่อมได้กระทำให้เป็นอารัมมณาธิบดี แต่พระอริยสาวกเมื่อพิจารณามรรคของ
ผู้อื่นด้วยเจโตปริยญาณแม้กระทำให้หนักก็กระทำให้หนักเหมือนมรรคอันตน
แทงตลอดแล้วไม่ได้. ถามว่า พระอริยสาวกเห็นพระตถาคตทรงกระทำยมก-
ปาฏิหาริย์อยู่ ย่อมกระทำมรรคของพระตถาคตให้หนักหรือไม่. ตอบว่า ย่อม
กระทำ แต่กระทำให้หนักเหมือนมรรคของตนไม่ได้. ในถ้อยคำของอรรถกถา
แม้นี้ว่า พระอรหันต์ไม่ทำธรรมอะไร ๆ ให้หนัก เว้นแต่มรรคผลและนิพพาน
ดังนี้ เป็นการอธิบายความนี้ทีเดียว.
บทว่า วิมํสาธิปเตยฺเยน (เจริญมรรคมีวิมังสาเป็นอธิบดี) นี้ ตรัส
เพื่อแสดงสหชาตาธิปติ. เพราะว่า เมื่อบุคคลเจริญมรรคทำฉันทะให้เป็นใหญ่
ฉันทะก็ชื่อว่าอธิบดี มิใช่มรรคเป็นอธิบดี แม้ธรรมที่เหลือก็ชื่อว่า มีฉันทะ
เป็นอธิบดี มิใช่มีมรรคเป็นอธิบดี. แม้ในจิตตะก็นัยนี้แหละ แต่เมื่อบุคคล
เจริญมรรคกระทำวิมังสาให้เป็นใหญ่อยู่ วิมังสาธิบดีนั่นแหละย่อมเกิด มรรค
ก็เกิด เพราะฉะนั้น แม้ธรรมที่เหลือก็ย่อมชื่อว่ามีมรรคเป็นอธิบดี. แม้ในวิริยะ
ก็นัยนี้เหมือนกัน.

ว่าด้วยนิทเทสอุปปันนติกะที่ 17


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งอุปปันนติกะ ต่อไป.
บทว่า ชาตา (เกิดแล้ว) ได้แก่ บังเกิดแล้ว คือมีภาวะของตน
อันได้เฉพาะแล้ว. บทว่า ภูตา (เป็นแล้ว) เป็นต้นเป็นไวพจน์ของคำว่า